
ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่เป็นไข้หวัด เป็นไปได้ไหม
โควิด-19 ยังคงเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดในตอนนี้ ซึ่งไม่เพียงแค่ประชากรในประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ผู้คนป่วย ล้มตาย และเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญห้ามละเลยที่จะตรวจ ATK ทุกครั้ง เมื่อต้องตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ซึ่งเรื่องอาการโควิดเป็นสิ่งที่ทำให้คนสับสนอยู่ไม่น้อย ว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงไข้หวัด ไข้หวัด หรือโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกันแน่ เนื่องจากอาการของโรค 3 ชนิดมีความคล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก สิ่งเดียวที่พอทำได้คือการตรวจ ATK เพื่อยืนยันผล นั่นเลยทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าหากป่วยโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เป็นไปได้ไหมที่จะตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด วันนี้เรามีคำตอบที่ถูกต้องมาฝากกัน
ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่ไม่ได้ป่วยโควิด เป็นไปได้ไหม?
ซึ่งจริง ๆ แล้วขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และโควิดโอมิครอน มีเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่ต่างกัน โดยไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่มักเกิดมาจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า โนไวรัส (Rhinovirus) และโรคไข้หวัดใหญ่เกิดมาจากเชื้อไวรัสฟลูเอนซา (Influenza Virus) ขณะที่เชื้อโควิด-19 จะมีต้นเหตุมาจากโคโรนาไวรัส (Coronavirus) หรือ SARS-CoV-2 ดังนั้นทั้ง 3 โรคจึงเกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสคนละตัว

ต่อมาเมื่อเกิดโรคโควิด-19 ทีมแพทย์และนักวิจัยจึงได้มีการคิดค้นวิธีที่จะช่วยแยกไข้หวัดกับโควิดให้ออกจากกัน ซึ่งวิธีที่ถูกใช้ในปัจจุบันคือการตรวจ ATK และ RT-PCR ถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 โดยเฉพาะ ซึ่งหลักการทำงานของที่ตรวจ ATK จะใช้ตรวจหาโปรตีนหรือแอนติเจนของเชื้อ ARS-CoV-2 ในขณะที่ RT-PCR ใช้ตรวจหาสารพันธุกรรมของ ARS-CoV-2 ดังนั้นจึงสรุปได้เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะป่วยไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ แล้วจะตรวจ ATK ออกมาเป็น 2 ขีด เพราะหากขึ้น 2 ขีดจริง ๆ นั่นหมายความว่าคุณกำลังโดนเชื้อโควิด-19 เล่นงานเข้าแล้ว แต่ถึงอย่างไรหากคุณมั่นใจว่าไม่ได้ติดเชื้อโควิด แต่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ก็สามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ชุดตรวจผิดวิธี อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด ใช้ของเหลวอื่น ๆ ในการตรวจ รวมไปถึงการเกิดการปนเปื้อนของชุดตรวจขณะใช้งาน ทำให้ผลตรวจอาจคาดเคลื่อนกลายเป็นผลบวกลวง ไม่แม่นยำ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจควรตรวจซ้ำอีกครั้งด้วยชุดตรวจยี่ห้ออื่น หรือเข้ารับการตรวจ RT-PCR ที่มีความแม่นยำและตรวจใช้ในปริมาณน้อยได้จะดีที่สุด
ความแตกต่างของไข้หวัด และ โควิด-19
ถึงแม้ว่าอาการโดยรวมของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะมีอาการคล้ายคลึงกันอย่างกับแกะ แต่ถึงอย่างไรทั้ง 3 โรคก็มีอาการเพิ่มเติมที่แตกต่างกัน เป็นอาการที่คุณสามารถจำแนกเบื้องต้นได้ว่าคุณป่วยเป็นอะไรกันแน่ โดยข้อแตกต่างของ 3 โรค มีดังนี้
- ไข้หวัดทั่วไป : มีไข้ต่ำ ๆ ไอ จาม คัดจมูก มีน้ำมูก เสียงแหบ เจ็บคอ ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่อาการจะค่อย ๆ เกิดไม่ได้รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 3 – 4 วัน หากพักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ
- ไข้หวัดใหญ่ : ไอ จาม คัดจมูก เจ็บคอเหมือนเป็นหวัดทั่วไป จะต่างตรงที่มีไข้สูงมากประมาณ 38 – 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน
- โอมิครอน : อาการโดยรวมจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ไอ (ความรุนแรงของการไอขึ้นอยู่กับแต่ละคน) จาม คัดจมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรือบางคนอาจรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย หายใจลำบาก และอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืนแม้นอนในห้องแอร์ ปวดหลังส่วนล่าง ที่ไม่สามารถพบได้ในกลุ่มคนที่ป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
หากพบว่าตัวเองป่วยหรือตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจโควิด-19 หรือตรวจ ATK ด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่สำคัญในตอนนี้ประกันสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก อย่าลืมเลือกทำเอาไว้หากวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจะได้มีเงินสำรองเพียงพอต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ