
คนแยกไม่ออกว่าป่วยเป็นริดสีดวง หรือ มะเร็งทวารหนัก
แม้ว่าในตอนนี้จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรน แต่ก็ใช่ว่าโรคอื่น ๆ จะหมดไปด้วยเสียเมื่อไหร่ หากเราลองมองอีกมุมหนึ่งก็ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยโควิดเท่านั้น ที่ต้องได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยรายใหม่ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงด้วยเช่นกัน เพราะชีวิตคนทุกคนมีความสำคัญ
เพราะฉะนั้นแล้ว วันนี้เราจะมาเล่าสู่กันฟังถึงประเด็นที่หลายคนสงสัย นั่นคือ ความแตกต่างระหว่าง ‘ริดสีดวง’ และ ‘มะเร็งทวารหนัก’ ที่หากมองเผิน ๆ ก็แทบแยกไม่ออกเลยว่าอาการนั้น ๆ คุณป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่

ความแตกต่างระหว่างริดสีดวง Vs มะเร็งทวารหนัก
ซึ่งผู้ป่วยบางคนอาจมาพร้อมกับการถ่ายเป็นเลือด ปวด คัน และมีก้อนที่ทวารหนัก แต่ก็ดันคิดไปเองว่านี่เป็นสัญญาณบอกริดสีดวง เพราะมันมีอาการคล้ายกันมาก ๆ แต่มะเร็งทวารหนักอาจมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ขับถ่ายผิดปกติ, อุจจาระมีขนาดเล็กลง หรือมีสารคัดหลั่งออกมาจากทวารหนักแบบเรื้อรัง วันนี้เราจึงสรุปรวบรัดแบบเข้าใจง่าย ดังนี้
อาการริดสีดวง :
- มีเลือดออกขณะขับถ่ายหรือหลังขับถ่าย
- มีติ่งหรือก้อนที่บริเวณทวารหนัก พร้อมกับมีอาการคัน ปวด เจ็บ ตรงบริเวณที่เป็นติ่ง
- อาจมีอาการหน้ามืดหรือเวียนศีรษะร่วมด้วย
อาการมะเร็งทวารหนัก
- มีอาการเจ็บปวดเมื่อเบ่งอุจจาระ
- มีเลือดปนมากับอุจจาระ
- มีก้อนเนื้อที่บริเวณทวารหนัก อาจจะเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ แต่จะคลำเจอเมื่ออุจจาระ เจ็บปวด
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตขึ้นจนคลำได้ (พบเมื่อเชื้อเกิดการลุกลามแล้ว)
- ท้องอืดแน่นตลอดเวลา
- คลำพบก้อนบริเวณท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดลง
ซึ่งในช่วงแรก ๆ โรคมะเร็งทวารหนักจะไม่แสดงอาการออกมามากนัก แต่หากมีเนื้องอกออกมา (ขนาดเริ่มใหญ่) ก็มักจะแสดงอาการตามที่ได้กล่าวไป

จากข้อสรุปข้างต้นสังเกตได้เลยว่า ข้อแตกต่างระหว่างริดสีดวงและมะเร็งทวารหนักมีความชัดเจนอยู่ กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนักจะขับถ่ายได้ปกติ แต่จะมีเลือดหยดออกมาทีหลัง แต่มะเร็งทวารหนักจะมีเลือดปนออกมาพร้อมอุจจาระเลยนั่นเอง
และถึงแม้ว่าคุณจะบอกว่าอาการที่คุณเป็นคือริดสีดวงซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่ามะเร็งทวารหนัก แต่หากคุณไม่เข้ารับการรักษาที่ดีและทันเวลา มันอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้ส่วนปลายหรือมะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน
มะเร็งทวารหนักติดอันดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมด
โรคมะเร็งทวารหนักเกิดขึ้นที่บริเวณทางเดินอาหารส่วนปลาย ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ได้ระบุเอาไว้ว่า กว่า 90% ของมะเร็งทวารหนักเกิดขึ้นมาจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (ส่วนใหญ่ 2 ชนิด คือ HPV-16 และ HPV-18) ที่ติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่นเดียวกันกับมะเร็งปากมดลูก และเรื่องนี้จึงส่งผลทำให้มะเร็งทวารหนักกลายเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมดที่คร่าชีวิตคน ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคู่รักหรือคู่นอนที่เป็นชายชายที่เป็นฝ่ายรับ (receptive anal intercourse) แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทวารหนักได้ ดังนี้

- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ 50 ปีขึ้นไป
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย
- กรรมพันธุ์ (คนในบ้านเคยป่วยมาก่อน)
- มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งปากช่องคลอด หรือมะเร็งช่องคลอด
- มีภูมิคุ้มกันต่ำ
- มีประวัติลำไส้อักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่เป็นนานเกิน 7 ปี
- เคยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
- มีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก, มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยครัง เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และไม่รับประทานอาหารที่มีกากใย (ทำให้ขับถ่ายยาก)
และด้วยการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป บวกกับทุก ๆ วัน เราเองอาจเผลอไปทำอะไรที่เสี่ยงต่อการเป็นทั้งริดสีดวง มะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งชนิดอื่นที่มีรุนแรง เพราะฉะนั้นหากต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิต การเลือกทำประกันมะเร็งเอาไว้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะนั่นนอกจากจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นมา คนข้างหลังก็ยังสบาย และคุณก็จะหายห่วงได้นั่นเอง