Natalie

Natalie June 6, 2022

ฝนนี้เราต้องรอด ช่วงนี้โรคภัยไข้เจ็บถามถึงแทบจะเดือนชนเดือน ในช่วงปีที่ผ่านมาก็พบกับการระบาดของโรคโควิด-19 ตอนนี้มีกระแสข่าวฝีดาษลิง แล้วพอเข้าหน้าฝนก็มีโรคประจำฤดูกาลที่ต่อคิวรออีกเพียบ การใช้ชีวิตในยุคนี้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้ารู้วิธีดูแลตัวเองให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรค โรคที่มักพบในหน้าฝน เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะหน้าฝนที่อากาศค่อนข้างแปรปรวนทำให้มีโรคต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น โดยโรคที่ระบาดในช่วงหน้าฝน เช่น ไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ การโดนน้ำฝนที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคทำให้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดได้ ซึ่งในช่วงหน้าฝนก็มีโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเป็นประจำทุกปี เมื่อป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ เพราะไข้หวัดใหญ่จะมีความรุนแรงมากกว่า ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย โรคที่เกิดจากยุงอย่างไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียเป็นโรคยอดฮิตที่ทุกฤดูฝนต้องเจอ ไข้เลือดออกเกิดจากยุงลาย ส่วนไข้มาลาเรียเกิดจากยุงก้นปล่อง ควรระวังการถูกยุงกัดในช่วงหน้าฝนให้ดี โรคตาแดง ตาแดงมักจะเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าไปติดอยู่ในดวงตาแล้วอักเสบ ซึ่งละอองฝนมักจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาด้วย ผู้ที่สัมผัสน้ำฝนจึงมีโอกาสเกิดตาแดงได้ อาการเจ็บป่วยหรือโรคในหน้าฝนมีหลายระดับ หากภูมิคุ้มกันกีและพบแพทย์ทันเวลามักจะรักษาหายทัน ทุกคนจึงควรใส่ใจเรื่องสุขภาพ กินวิตามินซีและสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในหน้าฝน การป้องกันตัวเองจากการเจ็บป่วยในหน้าฝน หน้าฝนเป็นช่วงที่ฝนตกหนักและตกบ่อย มักจะตกหลายพื้นที่พร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นเมื่อออกจากบ้านจะมีโอกาสเจอฝนสูง ควรอ่านพยากรณ์อากาศก่อนเสมอ เพื่อการเตรียมตัวที่ดี พกอุปกรณ์กันฝนออกจากบ้านเสมอ ก่อนออกจากบ้านในหน้าฝนควรมีร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัวไปด้วย เพราะฝนโอกาสตกได้ทุกเมื่อ การมีอุปกรณ์กันฝนจะช่วยลดโอกาสในการโดนฝนโดยตรง ไม่ออกไปตากฝนเป็นเวลานาน ละอองฝนปะปนด้วยเชื้อโรคต่าง ๆ มากมาย หากเลี่ยงได้ไม่ควรออกไปตากน้ำฝนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม […]

Natalie May 24, 2022

ผอมแต่มีพุง หมดความมั่นใจ ต้องรีบแก้ไขด่วน เชื่อได้เลยว่าปัญหาเรื่องหน้าท้อง พุง ไขมันรอบเอว ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์เท่านั้น เพราะแม้คนผอม หรือมีน้ำหนักตัวตามมาตรฐาน BMI (น้ำหนักตัวตามสัดส่วนที่เหมาะสม) แต่ทำไมยังรู้สึกว่าตัวเองอ้วนอยู่ตลอดเวลา อึดอัด เคลื่อนไหวตัวได้ยาก จนท้ายที่สุดส่องกระจกจึงได้รู้ว่ามีพุงน้อย ๆ ยื่นออกมา จนทำให้คนคิดว่าถึงแม้ว่าจะผอมแต่มีพุงแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่ไม่โอเคเหมือนกัน ซึ่งการผอมแต่มีพุง นอกจากจะทำให้คนรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเองแล้ว ยังทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ อีกด้วย หากรู้แบบนี้แล้วถึงเวลาแล้วล่ะที่ต้องทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ปลอดภัย และให้ผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว ฉะนั้นวันนี้เราจะเปิดเหตุผลผอมแต่มีพุง เกิดจากอะไรให้กับทุกคน 5 สาเหตุของการผอมแต่มี ‘พุง’ รู้ไว้แก้ไขทัน รับประทานอาหารหวาน ของหวานมากเกินไป ของหวานหรืออาหารที่มีรสหวาน เป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้คนอ้วนลงพุง เพราะอาหารเหล่านี้นอกจากจะมีน้ำตาลปริมาณสูงแล้ว ยังอัดแน่นไปด้วยไขมันทรานส์ที่มักเข้าไปสะสมอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว ต้นแขน ต้นขา และถึงแม้ว่าคุณจะควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละวัน แต่หากยังติดหวานอยู่ล่ะก็ที่ทำมาอาจกลายเป็นศูนย์ได้ อดอาหาร การอดอาหารลดน้ำหนัก บอกเลยว่าเป็นวิธีที่ผิด เพราะจากที่เคยกินอยู่ปกติ จู่ ๆ ดันให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเข้าไปซะอย่างนั้น นั่นเลยเป็นเหตุผลทำให้ร่างกายเกิดความหิวมากเกินไป […]

Natalie March 23, 2022

เครียดแล้วปล่อยไว้ไม่จัดการ อาจเสี่ยงผมร่วงหมดหัว ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจไม่แข็งแรง เพราะด้วยสิ่งต่าง ๆ มากมายจึงทำให้หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดเหล่านี้ได้ ทางเดียวที่พอทำได้คือการรู้จักวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเองเสียก่อน เพื่อให้สมองและจิตใจได้เกิดการ Relax นอกจากนี้หลายคนคงเคยได้ยินว่าความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงหนักมาก ซึ่งแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมทั้งในเรื่องความหนา ความบาง การหลุดร่วง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ แต่ทว่าปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะความเครียดก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผมร่วงได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าการจัดการความเครียดแก้ผมร่วงได้ยังไง รู้ไว้ก่อนผมล้านหมดหัว ผมร่วงเกิดจากความเครียดได้จริงหรือ โดยปัญหาเครียดแล้วผมร่วงมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่เป็นประจำ บางคนอาจรู้ตัวบ้างหรือบางคนอาจไม่รู้ตัวเลย ซึ่งความเครียดมักส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง สำหรับเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคนเกิดความเครียดร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา จนทำให้เส้นผมอ่อนแอและมีวงจรชีวิตของเส้นผมที่สั้นลงกว่าปกติ นอกจากนี้ความเครียดที่ทำให้ผมร่วง ยังสามารถแบ่งประเภทของอาการผมร่วงที่เกิดจากระดับความเครียดได้อีกด้วย ดังนี้ Telogen effluvium : เป็นภาวะผมร่วงที่เกิดจากการกระตุ้นจากความเครียด เพราะเมื่อคนเราเกิดความเครียดมาก ๆ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัว เมื่อสระผมหรือหวีผมก็จะทำใผมอ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น Trichotillomania : เป็นภาวะผมร่วงที่เกิดจากการตอบสนองต่ออารมณ์ด้านลบหรือความตึงเครียด ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้คุณเกิดความรู้สึกอยากดึงผม เพราะการดึงผมเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อความไม่สบายใจหรือความรู้สึกด้านลบอย่างหนึ่ง เช่น ความเครียด เบื่อ หงุดหงิด หรือรู้สึกเหงา Alopecia areata : เป็นอาการผมร่วงที่เกิดจากความเครียดรุนแรง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีรูขุมขชขนจนทำให้ผมร่วง เส้นผมต้องการอาหารแบบไหนในการบำรุง? […]

Natalie March 22, 2022

ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่เป็นไข้หวัด เป็นไปได้ไหม โควิด-19 ยังคงเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดในตอนนี้ ซึ่งไม่เพียงแค่ประชากรในประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ผู้คนป่วย ล้มตาย และเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญห้ามละเลยที่จะตรวจ ATK ทุกครั้ง เมื่อต้องตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเรื่องอาการโควิดเป็นสิ่งที่ทำให้คนสับสนอยู่ไม่น้อย ว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงไข้หวัด ไข้หวัด หรือโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกันแน่ เนื่องจากอาการของโรค 3 ชนิดมีความคล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก สิ่งเดียวที่พอทำได้คือการตรวจ ATK เพื่อยืนยันผล นั่นเลยทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าหากป่วยโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เป็นไปได้ไหมที่จะตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด วันนี้เรามีคำตอบที่ถูกต้องมาฝากกัน ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่ไม่ได้ป่วยโควิด เป็นไปได้ไหม? ซึ่งจริง ๆ แล้วขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และโควิดโอมิครอน มีเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่ต่างกัน โดยไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่มักเกิดมาจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า โนไวรัส (Rhinovirus) และโรคไข้หวัดใหญ่เกิดมาจากเชื้อไวรัสฟลูเอนซา […]

Natalie March 22, 2022

ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายกว่าที่คิดต้องระวัง ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นหากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนปริมาณต่ำหรือสูงเกินไป ก็ส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกตินั่นเอง ที่สำคัญยังส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ทั้งยังกระทบต่อความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ และเส้นผมเสี่ยงร่วงหนักมากอีกด้วย สาเหตุไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า โดยอาการแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน และภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุที่พบได้มากที่สุดคือ Grave’s disease: เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป เกิดจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules) เป็นสาเหตุที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) มีผลทำให้ฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมไทรอยด์รั่วออกมาได้ การได้รับไอโอดีนมากเกินไป นอกจากนี้ไอโอดีนยังสามารถพบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายทะเล อาหารทะเล เป็นต้น ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ที่รับประทานยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการป่วยเริ่มต้นและอาการป่วยในระยะยาวที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง การรักษา และสุขภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอาการเสี่ยงที่ส่งสัญญาณเล็ก ๆ ว่าคุณอาจเสี่ยงป่วยไทรอยด์ […]

Natalie January 22, 2022

ปัญหารอยแตกลายถือว่าเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ส่วนใหญ่มักมีต้นตอมาจากการที่ผิวหนังเกิดการขยายตัวหรือหดตัวอย่างรวดเร็ว การใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ และพฤติกรรมบางอย่าง ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ ‘เลเซอร์แตกลาย’ เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยม รอยแตกลาย คืออะไร แบ่งได้กี่ประเภท ? สำหรับปัญหารอยแตกลาย มักเกิดขึ้นอยู่ตรงบริเวณที่มีไขมันสะสมอยู่มาก เช่น ต้นแขน ต้นขน สะโพก น่อง เอว ฯลฯ โดยรอยแตกลายมักจะเกิดขึ้นจากการฉีกขาดของหนังแท้ มักพบเจอกับกลุ่มเด็กที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เนื่องจากมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ผู้ที่มีน้ำหนักมาก คุณแม่ตั้งครรภ์ และกลุ่มนักกีฬาเพาะกาย โดยลักษณะของรอยแตกลายจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Striae Rubra : รอยแตกลายลักษณะเป็นเส้นสีแดง Striae Rubra ถือเป็นรอยแตกลายในระยะแรก Striae Alba : รอยแตกลายลักษณะเส้นสีขาว เป็นรอยแตกลายที่เปลี่ยนจากเส้นสีแดงมาเป็นสีขาว และรอยแตกลายได้ยุบตัวลงบนผิว Striae Distensae : รอยแตกลายที่มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานจากการยืดมักพบในผู้ที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว Striae Atrophicans : รอยแตกลายที่มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานโดยมีอาการผิวฝ่อ มักพบในคุณแม่หลังคลอด หรือมีน้ำหนักตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คืนความสวยให้ผิวด้วย ‘เลเซอร์แตกลาย’ […]

Natalie December 11, 2021

ข้อเข่าเสื่อม…คนอายุน้อยก็เป็นได้ อย่าชะล่าใจ อาการปวดเข้า ข้อเข่าอักเสบ หรือข้อเข่าเสื่อม หากให้เทียบกันตามสถิติแล้วจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 50 – 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะไม่ได้มีอายุเข้าเลข 5 แต่ด้วยการใช้ชีวิตและพฤติกรรมต่าง ๆ ก็ทำให้ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงก่อนวัยอันควรได้เหมือนกัน ซึ่งอาการเข่าเสื่อม เกิดขึ้นมาจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าปกป้องส่วนปลายกระดูกที่เริ่มเสื่อมสภาพลง ทำให้เกิดปัญหาข้อเสื่อมตามมา จนไม่สามารถที่ลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วเหมือนเดิม ส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ที่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสูงวัย กลุ่มวัยรุ่น หรือคนวัยทำงาน ก็มีโอกาสเสี่ยงเท่า ๆ กัน อายุยังน้อย ข้อเข่าเสื่อมได้ มีสาเหตุมาจากอะไร การที่กระดูกหรืออวัยวะภายในร่างกายเกิดการสึกหรอ หรือเกิดอาการเสื่อมนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นเพียงอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้วการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงข้อเข่า จะเกิดขึ้นมาได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่สำคัญเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ดังนี้ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป / เกินเกณฑ์ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมาตั้งแต่เด็ก นอกจากจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ แล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนวัยเดียวกันอีกด้วย นั่นเป็นเพราะข้อเข่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการรองรับน้ำหนัก หากข้อเข่าทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นอาการเจ็บปวดและเป้นข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายนั่นเอง ข้อเข่าเสื่อมจากกรรมพันธุ์ บางคนอาจเป็นข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ทราบสาเหตุ แต่เมื่อมีการรื้อค้นประวัติดูดี ๆ […]

Natalie August 27, 2021

ในภาวะที่ทุกคนต้องอยู่บ้าน การออกกำลังกาย และ การคุมอาหารเพียงอย่างเดียว อาจทำได้ไม่ดีเท่ากับการ ออกนอกบ้านไปกิจกรรมและทำงานต่างๆ เนื่องจาก อาจขาดแรงบันดาลใจ หรือ การไม่มีวินัยเพียงพอ ทำให้เราเห็นว่าหลายๆคนมีน้ำหนักตัวที่สูงขึ้น ในช่วงโควิดเช่นนี้ เราจะได้เห็น การลดน้ำหนัก อย่างแพร่หลาย และ มีการ คิดค้น เทคโนโลยีที่มาช่วยลดน้ำหนักต่อสู้กับความอ้วน และหนึ่งในนั้นก็คือ สารที่ชื่อว่า Liraglutide ที่มีอยู่ในปากกาลดน้ำหนัก ที่หลายคนรู้จักนั่นเอง Liraglutide มีลักษณะการทำงานอย่างไร? Liraglutide ที่มีอยู่ในปากกาลดน้ำหนัก ผู้สั่งจ่ายคือแพทย์เท่านั้น โดยที่ จะเป็นการใช้ ร่วมกันกับการคุมอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายของคน ที่อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนของ โรคเบาหวานด้วย โดยปัจจุบันมี Liraglutide อยู่สองยี่ห้อ คือ Victoza และ Saxenda โดยที่ Saxenda เป็นยี่ห้อเดียวที่ได้รับการรับรองจาก อย. (อ้างอิง moph.go.th) การทำงานของ Liraglutide ก็คือ […]

Natalie August 4, 2021

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ เพื่อการป้องกันที่ดีขึ้น ในตอนนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ต้องจับตามองมากที่สุด โดยล่าสุดวันนี้ (4 ส.ค. 2564) มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทะลุง 20,000 รายแล้ว และคาดว่าน่าจะมีตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิดและเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าในตอนนี้คนจะต้องป้องกันตัวเองดีเพียงใด ทั้งสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม หรือระมัดระวังตัวเองมากขนาดไหน แต่หากยังไม่ได้รับวัคซีนที่ดีอย่างทั่วถึง ก็น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลง ตอนนี้ในไทยพบโควิดสายพันธุ์ใดบ้าง และหากใครที่ได้ตามข่าวก็คงจะพอทราบกันมาบ้างแล้ว ว่า ณ ขณะนี้เชื้อไวรัสดังกล่าวไม่ได้มีเพียงแค่สายพันธุ์เดียว หากแต่ในปัจจุบัน (อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ) มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์มากถึง 11 สายพันธุ์ แต่ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่ได้เกิดการกลายพันธุ์ทั้ง 11 สายพันธุ์ ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี เพราะตอนนี้ 5 สายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศก็เป็นสายพันธุ์ที่มีความดุ ความร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต และการแพร่กระจายที่รวดเร็วเช่นกัน วันนี้ medtu.tv ขออนุญาตพาทุกคนไปรู้จักกับสายพันธุ์โควิดให้มากขึ้น ว่าแต่ละสายพันธุ์หากติดแล้วจะมีอาการเป็นอย่างไร ความรุนแรงมากแค่ไหน และวัคซีนชนิดใด (พูดถึงเฉพาะวัคซีนที่มีอยู่ในไทย) มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้บ้าง ไปดูพร้อมกันค่ะ สายพันธุ์ดั้งเดิม หรือ สายพันธุ์อู่ฮั่น สำหรับโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมพบครั้งแรกที่อู่ฮั่น ประเทศจีน […]

Natalie August 3, 2021

โควิด-19 โรคร้ายที่อันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ โควิด-19 เป็นภัยร้ายที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพ ที่ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีวัคซีนป้องกันโควิด แต่นั่นเป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงเท่านั้น เพราะมันไม่สามารถจัดการโรคนี้ให้หมดไปหรือยับยั้งการติดเชื้อโควิดได้แบบ 100% เมื่อโรคระบาดหนักแบบนี้หลายคนที่ป่วยเป็นโรคที่รอไม่ได้อย่างโรคหัวใจ คงกำลังตั้งคำถามว่าหากในตอนนี้มีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก จะต้องรับมืออย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร จึงจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์ครั้งนี้ไปได้ วันนี้เรามีคำตอบ ผู้ป่วยโรคหัวใจเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องเข้าผ่าตัดช่วงโควิด-19 แม้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจจะไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป แต่หากผู้ป่วยโรคนี้เกิดติดเชื้อโควิดขึ้นมา ก็ย่อมมีความอันตรายและมีความรุนแรงมากกว่าคนกลุ่มทั่วไปที่สุขภาพปกติดีอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากถึง 20% ซึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคหัวใจจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือ ต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เข้าพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งเพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจเช็คความเสี่ยงและตรวจการควบคุมโรคว่าดำเนินไปด้วยดีหรือไม่ แต่หากในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด (ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด) ทั้งการผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ เป็นภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน ที่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกคนจะต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และต้องไม่พบเชื้อภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด ทั้งนี้ หากผู้ป่วยโรคหัวใจมีความจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีแบบรอผลตรวจโควิด-19 ไม่ได้ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิด-19 แล้วต้องผ่าตัดทันที แพทย์ก็สามารถดำเนินการผ่าตัดได้เช่นกัน แต่จะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และทีมแพทย์ แต่หากเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง แพทย์ก็จะพิจารณาเลื่อนการผ่าตัดออกไปประมาณ 3 – 6 เดือน เพื่อรอให้สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น […]