Month: March 2022

Natalie March 23, 2022

เครียดแล้วปล่อยไว้ไม่จัดการ อาจเสี่ยงผมร่วงหมดหัว ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจไม่แข็งแรง เพราะด้วยสิ่งต่าง ๆ มากมายจึงทำให้หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดเหล่านี้ได้ ทางเดียวที่พอทำได้คือการรู้จักวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเองเสียก่อน เพื่อให้สมองและจิตใจได้เกิดการ Relax นอกจากนี้หลายคนคงเคยได้ยินว่าความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงหนักมาก ซึ่งแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมทั้งในเรื่องความหนา ความบาง การหลุดร่วง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุ แต่ทว่าปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะความเครียดก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผมร่วงได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าการจัดการความเครียดแก้ผมร่วงได้ยังไง รู้ไว้ก่อนผมล้านหมดหัว ผมร่วงเกิดจากความเครียดได้จริงหรือ โดยปัญหาเครียดแล้วผมร่วงมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่เป็นประจำ บางคนอาจรู้ตัวบ้างหรือบางคนอาจไม่รู้ตัวเลย ซึ่งความเครียดมักส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง สำหรับเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อคนเกิดความเครียดร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา จนทำให้เส้นผมอ่อนแอและมีวงจรชีวิตของเส้นผมที่สั้นลงกว่าปกติ นอกจากนี้ความเครียดที่ทำให้ผมร่วง ยังสามารถแบ่งประเภทของอาการผมร่วงที่เกิดจากระดับความเครียดได้อีกด้วย ดังนี้ Telogen effluvium : เป็นภาวะผมร่วงที่เกิดจากการกระตุ้นจากความเครียด เพราะเมื่อคนเราเกิดความเครียดมาก ๆ จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักตัว เมื่อสระผมหรือหวีผมก็จะทำใผมอ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น Trichotillomania : เป็นภาวะผมร่วงที่เกิดจากการตอบสนองต่ออารมณ์ด้านลบหรือความตึงเครียด ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้คุณเกิดความรู้สึกอยากดึงผม เพราะการดึงผมเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อความไม่สบายใจหรือความรู้สึกด้านลบอย่างหนึ่ง เช่น ความเครียด เบื่อ หงุดหงิด หรือรู้สึกเหงา Alopecia areata : เป็นอาการผมร่วงที่เกิดจากความเครียดรุนแรง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีรูขุมขชขนจนทำให้ผมร่วง เส้นผมต้องการอาหารแบบไหนในการบำรุง? […]

Natalie March 22, 2022

ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่เป็นไข้หวัด เป็นไปได้ไหม โควิด-19 ยังคงเป็นการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดในตอนนี้ ซึ่งไม่เพียงแค่ประชากรในประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ผู้คนป่วย ล้มตาย และเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญห้ามละเลยที่จะตรวจ ATK ทุกครั้ง เมื่อต้องตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเรื่องอาการโควิดเป็นสิ่งที่ทำให้คนสับสนอยู่ไม่น้อย ว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงไข้หวัด ไข้หวัด หรือโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกันแน่ เนื่องจากอาการของโรค 3 ชนิดมีความคล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก สิ่งเดียวที่พอทำได้คือการตรวจ ATK เพื่อยืนยันผล นั่นเลยทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าหากป่วยโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ เป็นไปได้ไหมที่จะตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด วันนี้เรามีคำตอบที่ถูกต้องมาฝากกัน ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีดแต่ไม่ได้ป่วยโควิด เป็นไปได้ไหม? ซึ่งจริง ๆ แล้วขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ และโควิดโอมิครอน มีเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่ต่างกัน โดยไข้หวัดธรรมดาส่วนใหญ่มักเกิดมาจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า โนไวรัส (Rhinovirus) และโรคไข้หวัดใหญ่เกิดมาจากเชื้อไวรัสฟลูเอนซา […]

Natalie March 22, 2022

ไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายกว่าที่คิดต้องระวัง ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นหากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนปริมาณต่ำหรือสูงเกินไป ก็ส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกตินั่นเอง ที่สำคัญยังส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ทั้งยังกระทบต่อความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ และเส้นผมเสี่ยงร่วงหนักมากอีกด้วย สาเหตุไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า โดยอาการแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน และภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุที่พบได้มากที่สุดคือ Grave’s disease: เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป เกิดจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules) เป็นสาเหตุที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมักเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) มีผลทำให้ฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมไทรอยด์รั่วออกมาได้ การได้รับไอโอดีนมากเกินไป นอกจากนี้ไอโอดีนยังสามารถพบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายทะเล อาหารทะเล เป็นต้น ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ที่รับประทานยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการป่วยเริ่มต้นและอาการป่วยในระยะยาวที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง การรักษา และสุขภาพร่างกายของแต่ละคน โดยอาการเสี่ยงที่ส่งสัญญาณเล็ก ๆ ว่าคุณอาจเสี่ยงป่วยไทรอยด์ […]